ก้อนสมองส่วนหน้าของเรา ทำหน้าที่จำลองเหตุการณ์ในอนาคต รวมไปถึงทำหน้าที่คาดหวัง การมีอยู่ของสมองส่วนนี้ ทำให้ความสุขของเราต้องผูกติดกับความหวัง และการสมหวังนับได้ว่าเป็นความสุขสุดยอดที่มนุษย์จะมีได้
โดยปกติแล้ว มนุษย์มักคาดหวังอะไรมากเกินจริงเสมอ อาทิ เราคิดว่าคนที่ถูกหวยต้องมีความสุขมาก หรือผู้ที่สูญเสียขาจากอุบัติเหตุ ต้องเสียใจมาก แต่บทวิจัยชิ้นนี้วัดออกมาได้ผลว่า หลังจากเหตุการณ์ผ่านไปแล้ว 1 ปี ปริมาณความสุขของผู้ประสบเหตุของทั้งสองแทบไม่มีความแตกต่าง
โดยปกติแล้ว มนุษย์มักคาดหวังอะไรมากเกินจริงเสมอ อาทิ เราคิดว่าคนที่ถูกหวยต้องมีความสุขมาก หรือผู้ที่สูญเสียขาจากอุบัติเหตุ ต้องเสียใจมาก แต่บทวิจัยชิ้นนี้วัดออกมาได้ผลว่า หลังจากเหตุการณ์ผ่านไปแล้ว 1 ปี ปริมาณความสุขของผู้ประสบเหตุของทั้งสองแทบไม่มีความแตกต่าง
แนวคิด Impact bias อธิบายว่า มนุษย์มักประเมินผลกระทบต่อความรู้สึกของเรารุนแรงมากเกินไป หรือเรียกได้ว่าคนเรามักกลัวเกินเหตุ หรือ ดีใจเกินเหตุ พฤติกรรมนี้อธิบายเหตุการณ์ข้างบนว่า ทำไมเรามักเชื่อว่าคนที่ถูกหวยต้องมีความสุขมากแน่นอน หรือคนที่เสียขาไปจากอุบัติเหตุ ต้องเสียใจอย่างรุนแรง โดยต้นเหตุของพฤติกรรมนี้ก็คือสมองส่วนหน้า ที่มีหน้าที่จำลองอนาคตและคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้น เพื่อการตัดสินใจที่ถูกต้องแม่นยำ อย่างไรก็ตามพฤติกรรมนี้ก็มีจุดบอด ขัดแย้งกับอีกพฤติกรรมหนึ่งของจิตใจ คือ การปรับสมดุลตัวเองของจิตใจ โดยจิตใจเราสามารถปรับตัวให้อิ่มเอมกับสิ่งที่เป็นอยู่ อย่างสม่ำเสมอ ดังนั้นเมื่อเวลาผ่านไป ความสุขหรือความทุกข์มันไม่ได้หนักหน่วง เฉกเช่นเดียวกับสิ่งที่ได้เคยคาดไว้ในอดี
นอกจากนี้บทวิจัยแสดงให้เห็นว่า จิตใจเรามักว้าวุ่นเมื่อรู้ว่ามีหลายทางเลือก เมื่อใดที่เรารู้ว่าเรามีทางเลือก เรามักไม่มีความสุขกับสิ่งที่มีอยู่ และพยายามไขว่ขว้าเอาทางเลือกอื่น โดยประเมินแบบเกินเหตุว่าทางเลือกอื่นนั้นมีดีมากกว่า ในทางกลับกันถ้าเราไม่เคยได้ข้อมูลว่าเรามีทางเลือก เราจะคงพอใจกับสิ่งที่มีอยู่และมีความสุขมากขึ้นกับสิ่งนั้น
รายละเอียดเพิ่มเติมและบทวิจัยลองดูวีดีโอ
No comments:
Post a Comment