23 August 2015

สิ่งที่ Mac แตกต่างกับ Windows

 ตั้งแต่เด็กจนโต ใช้ Windows PC มาตลอด จะได้สัมผัส Mac ก็ตอนเข้าไปเล่นในร้าน iStudio แต่ก็รู้ได้แค่แบบผิวเผิน จนตอนนี้ทำงานด้าน programming ทางบริษัทให้ Macbook Pro มาเป็นคอมประจำตัว กว่าจะชินกับมัน ก็ใช้เวลาร่วมอาทิตย์ และอยากบันทึกข้อแตกต่างในแง่ผู้ใช้งาน ของทั้งสอง OS โดยจะระบุว่าสิ่งไหน Mac OS มีและ Windows ไม่มี เปรียบเทียบจาก Windows 10 และ Yosemite

ใช้ 2 นิ้วแตะ เพื่อ Right Click

Mac จะมาพร้อมกับ Trackpad ซึ่งเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมกว้างๆอันเดียว ไม่มีปุ่มเสริมระบุว่าคลิกซ้ายหรือคลิกขวา และใช้ 2 นิ้วแตะพร้อมกัน เพื่อเรียกเมนูเสริมขึ้นมา

ไม่รู้จัก Middle Click

ฟังชั่นนี้ผมใช้บ่อยใน Windows ใช้กด link ใน web browser เพื่อเปิด tab ใหม่ใน background ใน Mac ไม่มีฟังชั่นนี้ หากต่อเมาส์และกด Middle Click มันจะไม่ตอบสนองเลย

ปุ่ม Command คือพระเอกสำหรับกด shortcut

จากบน Windows เราใช้ Ctrl+A เพื่อคลุม Text ทั้งหมด Ctrl+C เพื่อ Copy ในขณะที่โลกของ Mac จะใช้ตัว Cmd แทนเลือกทั้งหมดก็ใช้ Cmd+A,หรือ Copy ก็ใช้ Cmd+C  และความแตกต่างอีกอย่าง คือ ที่วางปุ่ม อยู่สลับที่กัน ปุ่ม Cmd อยู่แทนที่ Alt ของ Windows และ Shortcut บางตัวก็แตกต่างไปเลย เพราะบน Mac มีปุ่ม Control ของตัวเองด้วย

เปลี่ยนภาษาโดยการกด Cmd+Space เท่านั้น

ไม่มีการเปลี่ยนภาษาโดยใช้ปุ่มเดียวอย่าง Grave Accent แบบ windowsหากอยากใช้ Grave Accent ต้องลง plugin เสริม

ไฟล์ Directory เรียบง่าย

File Explorer ในโลก Windows กลายเป็น Finder ในโลกของ Mac ไม่มีการแบ่งเป็น Drive C, Drive D มีเพียงแค่ Folder อย่าง download, documents และไม่สามารถเข้าถึง directory ที่ใช้ลงโปรแกรมได้ง่ายๆ ต้องเปิด hidden files mode ผ่าน command line


ย่อ/ขยายหน้าต่าง/ซ่อน อยู่ฝั่งซ้ายมือบน

ใน Windows มีแค่ฟังชั่น 3 ตัว minimize/maximize/close ในขณะที่ Mac มีมากกว่านั้นทั้ง 3 ปุ่มคือ minimize/presentation mode/quit ในขณะที่เราสามารถประยุกต์ใช้ฟังชั่นอื่นดังนี้ มีทั้ง minimize/hide/zoom/close/presentation mode/quit ถือว่าซับซ้อนกว่ามาก แต่ก็เพื่อความยืนหยุ่น โดย minimize เป็นการย่อลง task bar ข้างล่างด้านขวามือ hide จะเป็นการซ่อนโปรแกรมใน background ส่วน zoom จะเป็นการขยายหน้าต่างให้เต็มจอ หรือบางครั้งเกือบเต็มจอ close จะปิดหน้าต่างนั้นทิ้ง ซึ่งบางครั้งจะเหลือข้อมูลไว้ใน Ram ส่วน presentation mode คือ full screen โดยการสร้าง virtual desktop ใหม่เลย และท้ายสุด Quit อันนี้ปิดโปรแกรมแบบจริงจัง ออกจากโปรแกรมแน่นอน

Toolbar menu ที่สม่ำเสมอ

ทาง Mac OS จะมีแถบบอกสถานะไว้ขอบจอบนเสมอ และมี menu อาทิ file edit window สำหรับทุกโปรแกรม ซึ่งจะเปลี่ยนไปตามโปรแกรม ถ้าต้องการ settings โปรแกรม ไม่ว่าโปรแกรมไหน ก็จะอยู่ที่เดียวกัน ไม่เหมือน Windows ที่บางโปรแกรมมี toolbar บางโปรแกรมซ่อนไว้


ไฟล์สำหรับลงโปรแกรมนามสกุล .dmg

ในโลกของ Windows เราแค่ดาวน์โหลด exe และ Double Click กด Next ไปเรื่อยๆ ในขณะที่ Mac ไฟล์สำหรับลงโปรแกรมจะมาในรูปนามสกุล .dmg หรือ คล้ายกับเราดาวน์โหลดแผ่น CD มา(การทำงานเหมือนไฟล์ .ISO) เมื่อเปิด install ทาง Mac จะจำลอง Drive เหมือนใส่แผ่น CD และลงโปรแกรมโดยการลากไฟล์เข้า Application folder ไม่ต้องสนใจว่าไฟล์จะอยู่ Drive ไหนเลย ความยุ่งยากมีอีก เมื่อลงโปรแกรมเสร็จ ต้อง unmount disk ที่เพิ่งใช้ลงโปรแกรม

External Storage ผ่าน Desktop

ทุกครั้งที่เสียบ flash drive หรือ SD Card ทาง Mac จะสร้าง Drive ไว้บน Desktop ไม่เหมือนกับ Windows ที่อยู่ใน My Computer

Mission Control

ทาง Mac มีโหมด Mission Control กดเพื่อดูหน้าต่างที่เปิดไว้ทั้งหมดเป็นภาพรวม แต่ก่อน Windows 8.1 ย้อนหลังไป ของ Windows ยังไม่มีโหมดนี้ เพิ่งมีใน Windows 10 เรียกว่าโหมด Task View

ไม่มี Snap to Grid

บน Windows เราสามารถลากหน้าต่างไปชนขอบซ้าย หรือขอบขวา desktop และหน้าต่างจะเปลี่ยนทรงให้อยู่ในรูปครึ่งจอ แต่ทาง Mac ยังทำในส่วนตรงนี้ไม่ได้

No comments:

Post a Comment